การปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย มีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทดลองการปกครองท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาลขึ้นในกรุงเทพ ก่อนเมื่อ พ.ศ. 2440 และได้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพ ร.ศ.116 (พ.ศ.2541) แต่การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพยังไม่มีลักษณะการปกครองตนเอง เพราะกำหนดให้มีผู้บริหารเป็นข้าราชการทั้งสิ้น ต่อมาในวันที่ 18 มีนาคม 2448 พระองค์ทรงจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอมอำเภอเมืองสมุทรสาคร ซึ่งถือว่าเป็นการปกครองท้องถิ่น แห่งแรกของประเทศไทยการจัดตั้งสุขาภิบาล มีลักษณะเป็นการกระจายอำนาจในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานรักษาความสะอาด เจ้าหน้าที่ส่วนมากเป็นข้าราชการและยังไม่มีอำนาจที่จะออกข้อบังคับในการดำเนินการเกี่ยวกับสุขาภิบาลและกิจการอื่น และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล 2476 และได้มีการจัดตั้งเทศบาลเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2478 โดยได้ยกฐานะสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิม 35 แห่ง ซึ่งเป็นสุขาภิบาลเมือง 29 แห่งและสุขาภิบาลท้องที่ 6 แห่งขึ้นเป็นเทศบาล และได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับเทศบาลถึงปัจจุบันหลายครั้งกล่าวคือ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2481 และ พ.ศ. 2486 จนถึงปี พ.ศ. 2496 ซึ่งใช้เป็นหลักจนถึงปัจจุบัน โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543 ซึ่งได้ให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกการบริการประชาชน มีสิทธิ์เลือกการบริการกิจการเทศบาล ในรูปแบบคณะเทศมนตรี นายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง การจัดตั้งเทศบาลให้สอดคล้องกับการปกครองท้องถิ่นของไทยเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น มีอำนาจบริหารจัดการกันเองโดยบุคคลในท้องที่ที่ได้รับการเลือกตั้งจาก ประชาชนในท้องที่เป็นผู้บริหารและมีสมาชิกเทศบาลเป็นฝ่ายสภาเทศบาลได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้กำหนดไว้ท้องถิ่นใดอันควรยกฐานะเป็นเทศบาลให้จัดตั้งท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาล โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้เทศบาลเป็นทบวงการเมือง คือ มีฐานะเป็นนิติบุคคลได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการจัดตั้งเทศบาลไว้ 3 ประการ
1. จำนวนและความหนาแน่นของประชากรในท้องถิ่นนั้น
2. ความเจริญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากการจัดเก็บรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด และงบประมาณรายจ่ายในการดำเนินกิจการของท้องถิ่น
3. ความสำคัญทางการเมืองของท้องถิ่น โดยพิจารณาถึงศักยภาพของท้องถิ่นนั้นว่าสามารถพัฒนาความเจริญได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด
จัดตั้งสุขาภิบาลบางปลาอยู่ในเขตตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร บริเวณหมู่ 4 คือชุมชนบางปลา ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของอำเภอเมืองสมุทรสาคร ด้วยพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล พ.ศ. 2542 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และจะมีผลทำให้สุขาภิบาลทั่วประเทศเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลในวันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และได้มีคำสั่งจังหวัดสมุทรสาคร ที่ สค 0018.2/7687 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 การโอนพนักงานของสุขาภิบาลที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาล ให้สุขาภิบาลบางปลาเปลี่ยนเป็นเทศบาลตำบลบางปลา และกฎหมายได้กำหนด ให้เทศบาลแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร
เทศบาลตำบลบางปลาจัดเป็นเทศบาลตำบลขนาดเล็กมีรายได้จริงไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่แล้วมา 12 ล้านบาทขึ้นไป มีประชากรตั้งแต่ 7,000 คนขึ้นไป ความหนาแน่น ของประชากร 1,500 คน/ตารางกิโลเมตร เป็นเทศบาลชั้นกลาง แบ่งส่วนราชการออกเป็น 6 กอง ได้แก่